วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ไมโครมิเตอร์ (Outside Micrometer Caliper)













ลักษณะสร้างของไมโครมิเตอร์วัดนอก
เมื่อขันสลักเกลียวลงไปบนชื้นงาน หรือขันนัตเข้ากับสลักเกลียว เกลียวหรือนัตจะ เคลื่อนที่เป็นระยะเท่ากับ 1 ระยะพิต (Pitch) โดยใช้บรรทัดวัดระยะเคลื่อนที่ของเกลียว


ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถใช้บรรทัดเหล็กมาวางไว้ได้ตลอดเวลา จึงใช้วิธียึดบรรทัดเหล็กกับชิ้นส่วนที่เป็นนัต เกิดเป็นหลักการง่ายๆ ของไมโครมิเตอร์






ก. แกนรับ ข.แกนวัด ค.สเกลเส้นรอบวง ง. สเกลตามแนวยาว



ลักษณะสร้างของไมโครมิเตอร์ในปัจจุบันถูกสร้างให้มีน้ำหนักเบา แข็งแรง มีความคล่องตัวในการใช้งาน ขนาดของไมโครมิเตอร์วัดนอกมีหลายขนาดเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน



ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์



1. แกนรับ
2. แกนวัด
3.ปลอกหมุนวัด
4. เกลียว



5. ปลอกหมุนกระทบเลื่อน
6. กลไกล็อคแกนวัด
7. ก้านสเกล
8. ขีดสเกล 0.01 มม.
9. โครงของไมโครมิเตอร์
10. ขนาดที่วัด
11. แหวนเกลียว
12. ขีดสเกล 1 มม.
13. ขีดสเกล 0.5 มม.



หลักการแบ่งสเกลค่าความละเอียด



เมื่อหมุนเกลียวไป 1 รอบ = 1 ระยะพิตช์เกลียว (0.50 มม.)
ที่ปลอกหมุนวัดแบ่งออกเป็น 50 ขีด การเคลื่อนที่ของเกลียวจึงเป็น



ถ้าหมุนเกลียว 1 รอบ (50 ขีด) เกลียวเคลื่อนที่ = 0.50 มม.
ถ้าหมุนเกลียว 1/50 รอบ (1 ขีด) เกลียวเคลื่อนที่ = 0.50/50 = 0.01มม.

การอ่านค่าวัดจากไมโครมิเตอร์



อ่านค่าจากขีดสเกล 1.00 มม. = 5.00 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = 0.19 มม.
อ่านค่ารวมได้เท่ากับ = 5.69 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 1.0 มม. = 33.00 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม.
อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = 0.00 มม.
อ่านค่ารวมได้เท่ากับ = 33.50 มม.


ลักษณะงานที่วัดได้ด้วยไมโครมิเตอร์วัดนอก



ลักษณะงานที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยไมโครมิเตอร์วัดนอก

วิธีวัดงานด้วยไมโครมิเตอร์วัดนอก



1. เมื่อชิ้นงานและไมโครมิเตอร์มีขนาดเล็ก สามารถจับขึ้นมาได้
2. เมื่อชิ้นงานอยู่กับที่ เช่น จับยึดอยู่บนเครื่อง
3. เมื่อยึดไมโครมิเตอร์ด้วยปากกาจับไมโครมิเตอร์

การตรวจสอบไมโครมิเตอร์






1. การตรวจสอบแกนรับและแกนวัด โดยใช้แผ่นแก้ว (Optical Flat)
2. การตรวจสอบตำแหน่งศูนย์ของไมโครมิเตอร์
หมุนปลอกหมุนวัดจนกระทั่งแกนรับและแกนวัดสัมผัสกัน สำหรับขนาด 0 – 25 มม. ในกรณีที่แกนวัดขนาด 25 – 50 มม.ขึ้นไป ให้ใช้เกจบล็อก แล้วตรวจสอบตำแหน่งศูนย์


ขั้นตอนการปรับตำแหน่งศูนย์ของไมโครมิเตอร์
1. หมุนแกนวัดให้สัมผัสกับแกนรับด้วยหัวหมุนกระทบเลื่อน และทำการล็อคแกนวัด ขนาดวัด 25 – 50 ขึ้นไป ต้องตรวจสอบกับเกจ บล็อก
2. ใช้ประแจตัว C เกี่ยวหมุนก้านสเกลให้ตรงขีดศูนย์ของปลอกหมุนวัด


เทคนิคการใช้ไมโครมิเตอร์



1. วัดชิ้นงานที่ผิวขนานกัน จะต้องให้แนวแกนรับและแกนวัดตั้งฉากกับผิวของชิ้นงาน
2. วัดชิ้นงานที่เป็นทรงกระบอก ต้องปรับหาค่าวัดที่ถูกต้อง
3. ในการวัดงานทุกครั้งควรใช้หัวหมุนกระทบเลื่อน
4. การอ่านตัวเลขบนสเกล ควรถือไมโครมิเตอร์ให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับสายตา






วิธีการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์



1. ทำความสะอาดเครื่องมือวัดและชิ้นงานก่อนทำการวัด
2. อย่าใช้ไมโครมิเตอร์กับชิ้นงานผิวดิบ หรือหยาบเกินไป



3. เมื่อต้องการหมุนเข้าออกอย่างรวดเร็ว ให้เลื่อนกับฝ่ามือ
4. ใช้หัวหมุนกระทบเลื่อนในการวัดชิ้นงานทุกครั้ง
5. เลือกไมโครมิเตอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับงาน
6. อย่าหมุนปลอกหมุนวัดออกมา เพราะอาจมีฝุ่นเข้าไปได้
7. อย่าวัดชิ้นงานที่กำลังเคลื่อนที่



8. อย่าวัดชิ้นงานที่ร้อน เพราะจำทำให้ค่าวัดผิดพลาดได้
9. อย่าเก็บไมโครมิเตอร์รวมกับเครื่องมืออื่น ควรวางบนผ้านุ่ม
10. ควรตรวจสอบผิวสัมผัสแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
11. ก่อนที่แกนวัดจะสัมผัสชิ้นงาน ควรหมุนหัวหมุนกระทบเลื่อนช้าๆ

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณสำหรับหลักการที่บอกนะครับเพราะคนส่วนมากมักจะไม่เข้าใจ

    ตอบลบ
  2. เป็นบทความที่ดีมากครับ

    ตอบลบ
  3. Slot Machines Near Me - MapYRO
    Looking for Casinos 충주 출장안마 Near Me? Find the best slot machines to play near 진주 출장마사지 you. 김해 출장마사지 Use 진주 출장안마 our map to find the best casinos and nearby places to play 안성 출장안마 near you.

    ตอบลบ